รวมการทำสกรีน หัดทำสกรีนเสื้อ พิมพ์ผ้า สกรีนผ้า

วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2564

งานสกรีนแบบแยกสี


การสกรีนเสื้อหลายสี
รายละเอียด
พิมพ์ระบบออฟเซ็ท

พิมพ์สกรีนระบบสอดสี ผสม ออฟเซ็ท



เทคนิคการแยกสีเพื่อการพิมพ์สกรีน
งานแยกสีและผลิตแม่พิมพ์เป็นขั้นตอนเริ่มแรกของงานพิมพ์ ซึ่งประกอบด้วย
งานก่อนพิมพ์ งานพิมพ์ และงานหลังพิมพ์

งานก่อนพิมพ์มีประกอบ ดังนี้คือ การแยกสีทำฟิล์มเพื่อนำไปจัดทำแม่พิมพ์ การทำแม่พิมพ์ และการพิมพ์บรู๊ฟเพื่อตรวจสอบแม่พิมพ์ ซึ่งเราเรียกว่าขั้นตอนก่อนการพิมพ์ (Prepress)ในอดีตขั้นตอนก่อนการพิมพ์นี้มีรายละเอียดในการทำงานที่ต้องอาศัยแรงงานคนค่อนข้างมาก เนื่องจากยังไม่มีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน จะต้องประกอบฟิล์มด้วยฝีมือคนล้วนๆ ซึ่งใช้แรงงานและเวลาในการทำแม่พิมพ์มากจวบจนคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาลงมาในระดับที่ใช้งานได้ทั่วไป คอมพิวเตอร์จึงได้มีบทบาทในวงการพิมพ์ โดยเฉพาะทางด้านงานก่อนการพิมพ์ เริ่มแรกจากการเรียงพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จนมาถึงความสามารถประกอบงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

ทำให้เราสามารถทำงานแม่พิมพ์เพื่อส่งต่อให้กับแผนกงานพิมพ์ได้ในเวลาที่ต้องการและราคาที่ถูกลง การทำงานสำหรับงานพิมพ์สกรีน เพื่อการแยกสีและผลิตแม่พิมพ์ ปัจจุบันเราใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการทำสิ่งพิมพ์ ในหลายๆรูปแบบ เช่น สิ่งพิมพ์ภายในสำนักงาน สิ่งพิมพ์เพื่อการโฆษณา สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุหีบห่อ ฯลฯ
ซึ่งสิ่งพิมพ์เหล่านี้มีความต้องการในการจัดเตรียมไฟล์งานที่มีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป สิ่งพิมพ์ที่ต้องส่งเข้าโรงพิมพ์ไม่ว่าจะเป็นโรงพิมพ์ระบบออฟเซ็ต, กราเวียร์, สกรีน จำเป็นต้องมีการเตรียมไฟล์งานให้ถูกต้องเพื่อทีจะได้ส่งไปทำการแยกสี และผลิตแม่พิมพ์ได้โดยไม่มีปัญหา หรือมีปัญหาน้อยที่สุด เนื่องจากกระบวนการพิมพ์เราพิมพ์ด้วยหมึกชุดซึ่งประกอบไปด้วย หมึกฟ้า Cyan แดง Magenta เหลือง Yellow และดำ Black เป็นชุดหมึกมาตรฐานสำหรับงานพิมพ์ 4 สี ในบางครั้งเราอาจจะมีมากไปกว่านี้ เช่นในระบบการพิมพ์สกรีนเสื้ออาจใช้สีพิเศษเพิ่มขึ้นอีก 6 สี รวมกับ 4 สี แล้วเป็นการพิมพ์ 10 สี หมึกพิเศษที่เพิ่มขึ้นนี้เรียกว่า สีพิเศษ แยกออกจากหมึกชุดมาตรฐาน ดังนั้นเมื่อเราส่งไฟล์งานเข้ามายังร้านแยกสี ท่านก็ควรที่จะใช้โปรแกรมการจัดงานที่ใช้สำหรับงานพิมพ์ เช่น โปรแกรม Adobe Illustrator, Page Maker, Free Hand สำหรับการเตรียมงานเลย์เอาท์ และ Adobe Photoshop สำหรับการเตรียมภาพ เพราะการใช้โปรแกรมดังกล่าวมี Mode ในการทำงานที่ท่านนเลือกให้สัมพันธ์กับงานพิมพ์ได้ คือ Mode YMCK ในการสั่งสี เช่น สีม่วง C100 M100 เป็นต้น นอกจากนี้ยังสั่งสีพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น Pantone , Dic Color, Toyo ฯลฯ ให้เลือกได้หลากหลาย ทำให้การสื่อสารในการใช้สีเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับกระบวนการงานพิมพ์
ส่วนโปรแกรม เช่น Microsoft Office, Publisher จะเหมาะกับการทำงานสิ่งพิมพ์ในสำนักงานมากกว่า ทั้งนี้เนื่องจากกลุ่มโปแกรมดังกล่าวทำงานภายใต้ Mode RBG ซึ่งการสั่งสีจะเป็นคนละแนวทางกับงานในกระบวนการพิมพ์ ทำให้เวลาส่งมาแยกสีจะก่อให้เกิดปัญหาได้ โดยเฉพาะเวลาในการสื่อสารสั่งแก้ไขสี เมื่อดูชิ้นงานที่พิมพ์ออกมาแล้ว การทำงานใน Mode RBG กับ CMYK RBG เป็นโหมดการทำงานของแสงจำพวกวัสดุโปร่งแสง เช่น ฟิล์มสไลด์ หรือจอมอนิเตอร์ทำให้สามารถแสดงสีได้สดใสกว่า CMYK เป็นโหมดการทำงานบนวัสดุพื้นทึบแสง โดยแสงจะตกกระทบกับวัสดุพื้นทึบแล้วดูดกลืนสีบางส่วน จากนั้นก็สะท้อนค่าสีทีได้มายังตาผู้ดู ลักษณะเช่นนี้ทำให้สีที่ได้ไม่สามารถแสดงค่าสีที่สดใสมาก ดังนั้นการทำงานบนโหมด CMYK จึงมีขอบเขตสีที่จำกัดมากการส่งไฟล์งาน และลักษณะการทำงานในปัจจุบันกระบวนการแยกสีจึงเริ่มจากขั้นตอนการส่งไฟล์มายังร้านแยกสี ซึ่งถ้าทำงานสำเร็จรูปมา ก็จะส่งมาเฉพาะไฟล์ที่ประกอบเรียบร้อยแล้ว ซึ่งงานนั้นจะถูกนำไปแปลงเป็นภาษาของเครื่องเตรียมยิงฟิล์มและส่งออกยิงฟิล์มได้เลย แต่ก็มีบางรายที่ผู้ออกแบบไม่สามารถที่จะทำได้ในบางขั้นตอนเช่น ไม่มีเครื่องสแกนหรือเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กไม่สามารถทำไฟล์ได้สำเร็จ ทำให้ต้องส่งรูป หรือสไลด์ และไฟล์เลย์เอาท์ (ไฟล์ที่พิมพ์ตัวอักษรและรูปลายเส้น) มาให้ร้านแยกสีทำการสแกนและประกอบรูปให้ ไฟล์งานที่ส่งมา ถ้าเป็นกรณีทำเรียบร้อยแล้ว สามารถที่จะ save มาในนามสกุล .ESP (Encapsulated Post Script File) และ .PDF (Portable Document File) ซึ่งทั้งสองเป็น Format ที่ร้านแยกสีทุกร้านในเมืองไทยสามารถรับได้ แต่ถ้าหากท่านไม่สามารถทำสำเร็จเรียบร้อยท่านก็สามารถ Save มาใน Format ของโปรแกรมต่างๆ เช่น Illustrator Save มาในรูป .ai เป็นต้น สิ่งที่ต้องระมัดระวังก็คือต้อง Save ส่วนประกอบของงานนั้นๆเ เช่น รูปภาพ Fonts ตัวอักษรที่ใช้มาด้วยทุกครั้ง พร้อมทั้งมีใบกำกับรายละเอียดของงานที่ท่านทำมาว่ามีกี่หน้า ใช้ Fonts อะไรบ้าง มีรูปรายละเอียดสูง 300 DPI จำนวนกี่ภาพ อยู่ที่หน้าใด สิ่งเหล่านี้จำทำให้ร้านแยกสีสามารถทำงานได้รวดเร็วงานสำเร็จที่ประกอบเสร็จเรียบร้อยจากลูกค้า ไฟล์งานจะถูกส่งเข้าเครื่อง RIP เพื่อทำการคำนวณและแปลงเป็นภาษาของเครื่อง เพื่อส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องยิงฟิล์ม ส่วนงานที่ต้องประกอบก็จะถูกส่งไปยังแผนกต่างๆ ได้แก่แผนก Scanner ซึ่งจะทำการสแกนภาพ ด้วยเครื่องไฮด์เอนด์ Scanner เครื่องเหล่านี้จะมีความสามารถในการกราดอ่านภาพจากต้นฉบับและเก็บรายละเอียดได้ดีเยี่ยม รายละเอียดในส่วน Highlight และ Shadow ตลอดจนส่วนเปรียบต่างๆ ของภาพสามารถเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนปัจจุบันความนิยมในการใช้กล้องดิจิตอล กำลังได้รับความนิยมสูงขึ้น จะพบว่ามีการถ่ายภาพโดยใช้กล้องดิจิตอลเข้ามาประกอบในงานที่ส่งพิมพ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และความสามารถในการเก็บรายละเอียดก็ดีขึ้นมาก แต่อย่างไรก็ตาม หากต้องการคุณภาพจากกล้องดิจิตอลที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับฟิล์ม ก็จะต้องใช้กล้องดิจิตอลในระดับไฮด์เอนจิงๆ ซึ่งมีใช้กันตามสตูดิโอใหญ่ๆ ภาพและเลย์เอาท์ที่พร้อมแล้ว จะถูกนำไปประกอบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ APPLE Macintosh หรือ PC ขึ้นอยู่กับเลย์เอาท์ที่ทำมา จากนั้นจะถูกส่งไปยังเครื่อง RIP เพื่อทำการแปลงเป็นภาษา RIP เพื่อรอยิงฟิล์ม การเอาท์พุทฟิล์ม จะถูกสั่งจากเครื่อง RIP พร้อมทั้งการกำหนดขนาดของเม็ดสกรีน โดยข้อมูลจะถูกส่งผ่านไปยังเครื่องยิงฟิล์ม และการทำ PLOT ออกมาเป็นฟิล์ม สำหรับการพิมพ์สกรีน เป็นเม็ดสกรีนที่ความละเอียดตั้งแต่ 37 LPI, 43 LPI, 50 LPI, 60 LPI, 85 LPI, 100 LPI, และ 120 LPI เป็นค่าความละเอียดที่เครื่องเอาท์พุทฟิล์มใช้ยิงฟิล์มให้กับงานพิมพ์สกรีน ทั้งนี้การเลือกใช้ค่าความละเอียดจะมีความต้องการใช้ที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะงานพิมพ์และวัสดุที่พิมพ์ ส่วนรูปทรงเม็ดสกรีนจะมีหลายรูปแบบ เช่น เม็ดรี (Elliptic) เม็ดกลม (ROUND) เม็ดสี่เหลี่ยม (Square) เม็ดสี่เหลี่ยมผสมกลม (Round-Square) ส่วนมากการพิมพ์สกรีนจะใช้เม็ดรูปทรงกลมซึ่งเหมาะกับขั้นตอนการทำบล็อกแม่พิมพ์สกรีนฟิล์มที่ยิงออกมาจะมีลักษณะที่แตกต่างจากฟิล์มที่ยิงออกมาเพื่องานออฟเซ็ต คือฟิล์มสำหรับงานพิมพ์สกรีน จะยิงในลักษณะที่เนื้อฟิล์มด้านที่เคลือบน้ำยาเคมี และสารไวแสงสามารถอ่านตัวหนังสือที่เราพิมพ์ไว้ในงานได้ ซึ่งเราเรียกว่า น้ำยาตัวตรง ในขณะที่ระบบออฟเซ็ตจะมี
ลักษณะตรงกันข้าม ทั้งนี้เนื่องจากคุณลักษณะในการทำแม่พิมพ์และชนิดแม่พิมพ์ต่างกันของระบบพิมพ์ในการแยกสีของระบบพิมพ์สกรีนนั้น สำหรับร้านแยกสีทั่วไปจะสินสุดที่กระบวนการทำฟิล์มหลังจากนั้นก็จะส่งฟิล์มไปทำแม่พิมพ์สกรีนที่ร้านทำบล็อกสกรีนหรือโรงพิมพ์ที่มีระบบการทำแม่พิมพ์สกรีน เพื่อดำเนินการในกระบวนการผลิตต่อไป ส่วนในระบบออฟเซ็ตฟิล์มที่ได้จะถูกนำไปอัดเพลทแม่พิมพ์ เพื่อทำการขึ้นแท่นปรู๊ฟ ปัจจุบันในระบบแม่พิมพ์ออฟเซ็ตได้มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตเพลทแม่พิมพ์ที่สูงขึ้น โดยการทำพล๊อตเม็ดสกรีนลงบนเพลทเลย ที่เรียกว่า Computer to PlateHardware ที่ใช้ในการจัดการสีในส่วนที่เกี่ยวกับจอมอนิเตอร์ ก็คือ เครื่อง Colorimeter ทำงานร่วมกับ Software ที่ให้มา โดยจจะทำการวัดและคำนวณค่าสีจากจอมอนิเตอร์ และจัดทำ Profile Monitor ซึ่งจะถูกโหลดใช้ทุกครั้งที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ในกระเป๋าที่ชื่อ ColorSync เครื่องมือชิ้นต่อไปที่ต้องใช้ก็คือเครื่อง Spectrophotometer ที่ใช้ทำการวัดตารางค่าสีมาตรฐาน IT8 Chart หรือ ECI 2002 Chart ซึ่งได้มาจากการพิมพ์ที่แท่นพิมพ์ หรือแท่นปรู๊ฟ 1 ใบ และจากเครื่องปริ๊นเตอร์ที่ใช้อยู่ เช่น Color Laser Printer หรือ Ink Jet อีก 1 ใบ นำตารางสีดังกล่าวมาวัดผ่านเครื่องมือดังกล่าว
โดยมีซอฟแวร์ที่ใช้ในการควบคุมการวัด ซอฟแวร์จะทำการคำนวณและปรับค่าหมึกพิมพ์ของเครื่องปริ๊นเตอร์ คำนวณค่าสีที่แสดงบนกระดาษปริ๊นท์ และค่าสีของกระดาษให้เข้ากับค่าสีของตัวอย่างตารางสีที่พิมพ์มาจากระบบการพิมพ์จริง ผลที่ได้คือ Printer Profile ค่าทั้งสองจะถูกนำมาใช้โดยโปรแกรมการจัดการสี ซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมสีให้การแสดงที่หน้าจอ และที่เครื่องปริ๊นเตอร์ ให้สามารถแสดงสีได้ใกล้เคียงกับงานพิมพ์ ปัจจุบันการทำดิจิตอลปรู๊ฟ (ปริ๊นท์ผ่านเครื่องพิมพ์ Laser Print และ Hi-end Inkjet ขนาดใหญ่ โดยมีซอฟแวร์ระบบการจัดการสีควบคุม) ได้มีการนำมาใช้เพื่อการตรวจบรู๊ฟก่อนการพิมพ์จริง เพื่อให้ลูกค้าได้ตรวจสอบรายละเอียดของงาน และสี อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดเนื่องจากเทคโนโลยี และซอฟแวร์ที่ใช้ ทำให้ค่าสีในบางกรณีพิมพ์ออกมาแล้วได้ค่าสีที่คลาดเคลื่อนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับงานจริง เช่น งานพิมพ์ที่มีสีพิเศษหลายๆ สี ดิจิตอลปรู๊ฟไม่อาจพิมพ์งานที่ให้ค่าสีพิเศษเหล่านี้ออกมาได้ใกล้เคียง ในทุกๆ ค่าสีพิเศษตามตัวอย่างที่เราสั่งพิมพ์ เป็นต้น ฉะนั้นจึงควรใช้อย่างมีวิจารณญาณและควรปรึกษาร้านที่ทำสกรีนให้ดีเสียก่อน อย่างไรก็ตามดิจิตอลปรู๊ฟสำหรับงานทั่วไป 4 สี ดิจิตอลปรู๊ฟที่ระบบการควบคุมสีเพื่องานพิมพ์สามารถแสดงผลค่าสีได้ในระดับที่ยอมรับได้ใกล้เคียงมากกว่า 90 % ในปัจจุบัน
    อ่านจบแล้วคง งง  ๆ  ๆ  อย่าว่าแต่คุณจะงงเลยครับ คนเขียนเองก็ งง
ถ้าผมเป็นคนเริ่มที่จะสนใจการพิมพ์สกรีน ระบบแยกสี หรือ พิมพ์ ระบบออฟเซท
 จริงๆแล้ว ระบบมันไม่ยากอย่างที่อ่าน  ถ้าได้รับการแนะนำอย่างถูกหลักและเป็นกันเอง
สอนสกรีนเสื้อ แบบมืออาชีพ


เรียนรู้การสกรีน 4 สี  ระบบออฟเซ็ท
สอนตัวต่อตัว
ตั้งแต่ไม่รู้อะไรเลย จนเก่ง


สนใจเรียน การทำสกรีนแบบมืออาชีพ..
โทร..081-8878909 , 055-243993 ,089-7028104


ไลน์ไอดี  :  champsport        



ฝึกสกรีนของจริง จากงานจริงๆ


สอนทำสกรีน 4 สี
ลองพิมพ์จริงๆ

สนใจเรียน การทำสกรีนแบบมืออาชีพ..
โทร..081-8878909 , 055-243993 ,089-7028104

ไลน์ไอดี  :  champsport     


สนใจเรียน การทำสกรีนแบบมืออาชีพ..
โทร..081-8878909 , 055-243993 ,089-7028104


ไลน์ไอดี  :      champsport       

ดูเวปที่เกี่ยวข้อง..
http://www.xingming51.blogspot.com/
หรือ..
http://www.champscreen.blogspot.com/
http://www.champ999.com/


ไม่มีความคิดเห็น: